HUAWEI ขานรับกระทรวง DE พร้อมส่งเสริมนโยบาย Cloud First Policy ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางคลาวด์ระดับภูมิภาค

หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศวันนี้ว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมมือและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางคลาวด์ระดับภูมิภาค ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เติบโตและถูกนำไปใช้บนระบบคลาวด์ (Cloud) ในขณะที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ชี้แจงรายละเอียดนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) เพื่อเพิ่มการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในบริการสาธารณะและขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย

ความพยายามในการบรรลุแผนงานดิจิทัลระดับชาติผ่านการบูรณาการทำงานร่วมกัน เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ร่วมงานนับร้อยคนที่งาน Huawei Cloud Summit Thailand ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงดีอีและหัวเว่ย ในกรุงเทพมหานคร

ในการกล่าวเปิดงาน Huawei Cloud Summit Thailand วันนี้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงรายละเอียดและขั้นตอนการทำงานตามนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) และกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวงดีอีและหัวเว่ย คลาวด์ ที่มุ่งมั่นนำเสนอประโยชน์ที่แท้จริงของนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) ให้กับประชาชนไทย

“นโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy)” ซึ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้เป็นเพียงแค่โครงการด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของประเทศไทย ยกระดับประสิทธิภาพบริการสาธารณะ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในทุกภาคส่วน” รัฐมนตรี กล่าว

“นโยบายนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราเท่านั้น แต่ยังสร้างพื้นฐานให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีและการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย”

“เรามั่นใจว่า นโยบายนี้จะเร่งการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของเรา สร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และทำให้ประเทศไทยยืนอยู่แถวหน้าของการปฏิวัติดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราขอเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนเข้าร่วมกับเราในการเดินทางที่น่าตื่นเต้นนี้ และมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย” นายประเสริฐ กล่าว

“ความร่วมมือของเรากับหัวเว่ย คลาวด์ ย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเชื่อถือได้ การลงทุนของหัวเว่ย คลาวด์ ในโครงสร้างพื้นฐานท้องถิ่นและเทคโนโลยีขั้นสูง จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนวิสัยทัศน์การใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Vision) ของเรา ทั้งนี้ เราขอรับรองว่าประโยชน์ของเทคโนโลยีคลาวด์จะถูกนำไปใช้ในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ทั้งภาคประชาชน ธุรกิจ และสถาบัน” นายประเสริฐ กล่าว

“วันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินทางของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เขากล่าวเสริม

แจ็กเกอลีน สือ (Jacqueline Shi) ประธานฝ่ายการตลาดและบริการจัดจำหน่ายระดับโลกของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ยได้เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ในประเทศไทย และชุดเทคโนโลยีและเครื่องมือที่มีอยู่ในระบบคลาวด์ของประเทศไทย ได้มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา”

“เรามุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทย โดยการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือขั้นสูงเพิ่มเติมเข้ามา และขยายบริการดิจิทัลที่นี่ เราจะไม่เพียงแต่นำประโยชน์ที่แท้จริงมาสู่ชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังใช้โครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในวงกว้างอีกด้วย” เธอกล่าว

สือ กล่าวว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ย คลาวด์ จะเพิ่มขีดความสามารถการทำงานในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในท้องถิ่น เพื่อรับประกันความปลอดภัยของข้อมูลและประสิทธิภาพในการประมวลผล การลงทุนที่สำคัญนี้จะเสริมสร้างสถานะของประเทศไทยในฐานะผู้นำดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หัวเว่ยได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ตั้งแต่ปี 2561 รวมถึงโซนให้บริการท้องถิ่นสามแห่ง ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้นำการให้บริการคลาวด์ในประเทศ

เดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์ มีความพิเศษและแข็งแกร่งที่ไม่มีใครเทียบได้ ด้วยโซนการให้บริการ (Availability Zone) ในประเทศไทย เราทำให้ลูกค้าทุกคนสามารถจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทย ในขณะที่เราสามารถลดระยะเวลาแฝงของเครือข่าย คลาวด์ (Cloud networking latency) ทั่วประเทศเหลือเพียง 12ms”

หัวเว่ย คลาวด์ ได้นำเทคโนโลยีล่าสุดบนระบบคลาวด์มาสู่ประเทศไทย รวมถึง GaussDB โซลูชันฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบกระจายระดับองค์กรของหัวเว่ย และ MetaStudio’s Digital Man โมเดลบุคคลดิจิทัล ที่ใช้นวัตกรรมบุคคลเสมือนจริงที่มีการซิงโครไนซ์สูงและมีชีวิตชีวา

กระทรวงดีอี ได้ชู 7 นโยบายดิจิทัลหลัก โดยเน้นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีคลาวด์ และหนึ่งในนโยบายทั้งเจ็ด คือ การใช้คลาวด์เป็นหลัก (Cloud First Policy) ที่มุ่งเปลี่ยนผ่านดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยการใช้ Cloud Computing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐบาล สนับสนุนองค์กรขนาดใหญ่ และให้บริการลูกค้าในภูมิภาค

หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับกระทรวงดีอี เพื่อเปิดตัว e-Government Cloud เพื่อเพิ่มการทำงานร่วมกันทางดิจิทัลและคุณภาพการบริการสาธารณะ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการสร้างสมาร์ทซิตี้ (Smart City) แห่งแรกในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ปรับปรุงบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังได้พัฒนาเหมือง SCG สีเขียวแห่งแรกและโรงงานอัจฉริยะ Matsumoto เพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน

ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์ที่เชื่อถือได้ หัวเว่ย คลาวด์ ได้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งและนำโซลูชันไฮบริดคลาวด์ที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาท้องถิ่นของประเทศไทยมากที่สุด หัวเว่ย คลาวด์ ให้บริการคลาวด์ในภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 15 แห่งในประเทศไทย และเปิดตัวบริการคลาวด์มากกว่า 100 รายการ ทั้งนี้รายงานของ Sullivan ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า หัวเว่ย ประเทศไทย ครองอันดับ 1 ในภาคการตลาด Hybrid Cloud และในการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของรัฐบาล องค์กร และอุตสาหกรรม บริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรกของประเทศไทย และมากกว่า 70% ของกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาล รวมทั้งสถาบันการเงิน 25 แห่ง ได้เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล

ความมุ่งมั่นของหัวเว่ย คลาวด์ นั้น ครอบคลุมไปถึงการสร้างโครงข่ายดิจิทัลที่แข็งแกร่งและการพัฒนาทักษะท้องถิ่นผ่านโครงการฝึกอบรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยประเทศไทยเติมเต็มช่องว่างของความต้องการบุคคลากรที่มีทักษะดิจิทัลถึง 500,000 คน

หนึ่งในโครงการทั้งหมด คือ อาเซียน อคาเดมี (ประเทศไทย) หรือ ASEAN Academy (Thailand) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2563 ได้ฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 96,200 คน รวมถึงนักพัฒนา ICT นักพัฒนา AI บนคลาวด์ วิศวกรสีเขียว และนักเรียนในชนบท นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังได้เปิดตัวการแข่งขัน Spark startup ร่วมกับรัฐบาลและพันธมิตร ดึงดูดสตาร์ทอัพมากกว่า 120 ราย และให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ทุน ขยายตลาด และการสนับสนุนการดำเนินงาน ในการเป็นที่ยอมรับของการทำงานและสนับสนุนองค์กรต่างๆ หัวเว่ย ได้รับรางวัล Thailand’s Prime Minister’s Award ด้าน“สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา